loading...

สำรวจด่วน!!Philophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรัก ลองเช็กอาการและแนวทางรักษาเบื้องต้นก่อนถึงวันแห่งความรักกันได้เลย




โรคPhilophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรักนั้น จัดเป็นโรคที่มีคนป่วยเยอะที่สุด ซึ่งนักจิตวิทยาต่างก็สันนิษฐานกันว่า ว่า ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของโรคกลัวความรัก พยายามหนีความรู้สึกรัก หรืออยากเกิดความรู้สึกพิเศษกับใครซักคน มันมีสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ ?

Philophobia มีปัจจัยและสาเหตุเกิดขึ้นจาก ?

1.  เหตุการณ์ฝังใจมาตั้งแต่เป็นเด็ก
โดยเฉพาะเด็กที่เติบโตมาท่ามกลางการหย่าร้างของพ่อแม่ หรือคนใกล้ตัวมีปัญหาในชีวิตรักเช่น การทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว หรือการใช้กำลัง

2.   วัฒนธรรม ประเพณี หรือศาสนาที่มีกฎข้อห้ามเกี่ยวกับเรื่องความรักที่เข้มงวดเกินไป
บางวัฒนธรรม ประเพณี หรือศาสนาอาจจะมีข้อห้ามหรือกฎที่เข้มงวดเรื่องความรักหรือจำกัดสิทธิ์ในเรื่องเพศมากเกินไป หรือห้ามเรื่องการแสดงออกถึงความรักต่อกัน อาจทำให้เป็นความรู้สึกที่จำฝังใจสำหรับคนที่ต้องการจะสัมผัสความรักแบบคนทั่วไปได้

3.  ความล้มเหลวในเรื่องความรักซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ความรู้สึกผิดหวังกับความรักซ้ำแล้วซ้ำอีกนับครั้งไม่ถ้วนนั้น สำหรับบางคนอาจจะเป็นเรื่องที่ตามหลอกหลอน เพราะความเจ็บปวดจากการผิดหวังบ่อยครั้ง ทำให้เกิดความกลัวหรือการระแวงจนเกินเหตุทำให้ไม่กล้ามีความรักต่อไปก็เป็นได้


ลองมาเช็กดูซิว่า อาการของโรค Philophobia นั้นมีอะไรกันบ้าง ?
1.  กังวลทุกครั้งที่จะเริ่มต้นความรักใหม่ กลัวมากเกินไปจนกลายเป็นความเครียด

2.  ห้ามใจตัวเองไม่อยู่ เมื่อตกอยู่ในภวังค์ของความรัก

3.  หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ๆมีคู่รักอยู่ เช่นในโรงหนังหรือร้านอาหาร

4.  ชอบอยู่คนเดียว ทำตัวเหมือนรักสันโดษ แต่เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้พบหรือหวั่นไหวไปกับความรักมากกว่า

5.  ไม่ยอมเปิดใจ ให้ใครเข้ามารัก

6.  ชอบประเมินความรู้สึกของคนที่คุยด้วยล่วงหน้า พอคาดการณ์เสร็จก็มักจะมอบความรักที่น่าจะเท่าเทียมกันให้คืน เพราะกลัวถ้าให้มากเกินไป เวลาผิดหวังตัวเองก็จะรับไม่ไหว

7.  พอตกเป็นฝ่ายรับมือ อาจจะมีอาการทางกายภาพออกมาด้วย เช่น เหงื่อออก หัวใจเต้นแรง หรือ อาเจียนร่วมด้วย


วิธีการรักษา Philophobia

บำบัดทั้งความคิดและพฤติกรรม
นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ จะเข้ามาทำการพูดคุยกับคนไข้ เพื่อทำการปรับทัศนคติ และสร้างความคิดแง่บวกในเรื่องของความรัก ให้กับผู้ป่วย

ให้เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวแบบตรงๆ
โดยการสร้างภูมิคุ้มกันและลดแรงกดดันให้กับผู้ป่วยด้วยการ ชักชวนพูดคุยเรื่องความรัก ทำความเข้าใจด้วยการพาเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ต่างๆที่จะต้องเกี่ยวข้องกับความรักหรือคู่รัก

รักษาด้วยยา
ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความเครียดสูงเท่านั้น เพื่อควบคุมอารมณ์และการแสดงตัวตนออกมาให้ดีขึ้น


อาการจะต้องหนักขนาดไหนถึงควรไปพบกับ จิตแพทย์ ?
สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการกลัวหรือเครียดอย่างรุนแรง จนไม่อาจใช้ชีวิตประจำวันแบบปรกติได้ เช่น เก็บตัว ไม่พูดคุยกับใคร หมกอยู่แต่ในห้อง หลีกเลี่ยงสังคมไม่ออกข้างนอก ซึ่งหากรู้ตัวว่ามีอาการขนาดนี้ แนะนำให้ลองปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อหาทางออกร่วมกันจะดีที่สุด

loading...